Sunday, March 7, 2010
Bedrich Smetana
Smatana ถือว่าป็นนักประพันธ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาดนตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับดินแดนที่ตนเองได้กำเนิดมาแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นชาตินิยม ซึ่งการทำงานของเขาต้องหยุดลงในช่วงที่เขาออกจากสวีเดน หลังจากความสิ้นหวังทางการเมืองในช่วงปี ค.ศ.1848 แต่ต่อมาเขาก็กลายเป็นผู้ก่อสร้างโอเปร่าแห่ง Czech และรูปแบบดนตรีของ Czech ปรากฏในบทกวีที่มีความไพเราะ ผลงานการประพันธ์อันเป็นที่รู้จักได้แก่ โอเปร่าเรื่อง The Bartered Bride และ Má vlast (My Fatherland) เป็นเรื่องราวที่ประกอบด้วยการบรรยายประวัติศาสตร์ ตำนานและสภาพทั่วไปของบ้านเกิดของเขาเอง ภายหลังเมื่อเขาหูหนวก เขาก็เริ่มที่จะประพันธ์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเขาเอง ซึ่งปรากฏในงาน sting quartets ผลงานการประพันธ์ของเขาถือว่าเป็นผลงานที่แสดงถึงเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศเกิด ซึ่งจัดเป็นแนวคิดในชาตินิยมได้
ในช่วงต้นปี 1848 เขาได้เขียนผลงานสำหรับการบรรเลงเปียโนเดี่ยว Six Characteristic Pieces และอุทิศให้กับ Liszt ผู้ที่มีอิธิพลต่อการประพันธ์ของเขา และเขาได้วางแผนการประพันธ์ผลงานสั้นๆ ในทุกคีย์เมเจอร์ (Major) และคีย์ไมเนอร์ (Minor) หลังจากที่ Chopin ได้ประพันธ์ Preludes ออกมา อย่างไรก็ตามผลงานไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากบางชิ้นก็สมบูรณ์แต่บางชิ้นก็ไม่ หลังจากนั้นอีก 13 ปี ถึงมีผลงานชื่อว่า Dreams ที่มีต้นแบบมาจาก ชูมานน์ (Schumann) โชแปง (Chopin) และ ลิสต์ (Liszt) ผลงานในชุดบรรเลงเปียโนเดี่ยวคือ Czech Dances (1877 และ 1879) ที่เป็นเพลงเต้นรำและแสดงถึงวัฒนธรรมของชาว Czech
Smetana ได้เขียนโอเปร่า (opera) ไว้หลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง The Bartered Bride (1863) เป็นผลงานโอเปร่าชิ้นที่สองหลังจากเรื่อง The Brandenburgers ซึ่งเป็นผลงานโอเปร่าที่มีความตลกขบขัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากถึงกับได้แสดง 1000 ครั้งโดยผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ถูกอ้างว่าเป็นแบบ Wagnerian (Richard Wagner-นักประพันธ์ชาวเยอรมัน) ที่มีเรื่องราวให้ความบันเทิงเกี่ยวกับชีวิตชนบทของชาว Bohemian ที่ลูกสาวใช้ไหวพริบกับพ่อแม่ของตนเองและทำลายงานแต่งงานตามคำสั่งของลูกชายเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นคนที่เธอรัก โดยมีการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1866 ที่ Prague เพลงโหมโรงที่มีความครื้นเครงในเรื่องนี้มีปรากฏในตอนสุดท้ายขององค์ที่ 2 ที่มีความมหัศจรรย์ สดชื่น มีชีวิตชีวาและตัวละครที่ตลก ซึ่งเขียน score สำหรับ ปิคโคโล่, ฟลุ๊ต 2 ,โอโบ 2 , คลาริเนท 2 , บาซซูน 2 , ฮอร์น 4 ,ทรัมเปต 2, ทรอมโบน 3,ทิมพานี และเครื่องสาย
และ Má vlast (My Fatherland-1876) เป็นผลงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวถึงลักษณะชาว Czech การบรรยายลักษณะของประเทศ รวมไปถึงบทเพลงและการเต้นรำ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่สังคมและวัฒนธรรม โดยแต่งเป็นชุดของบทกลอนที่อธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ และสามารถเล่นในแต่ละบทแยกกันได้ มีด้วยกัน 6 องค์ บทเริ่มต้นใช้ continuos sequence ก่อนเข้าเรื่อง ในเรื่องนี้เป็นการสาธิตจุดประสงค์ในการประพันธ์บทเพลง โดยแต่ละบทกลอนมีลักษณะที่เป็นระบบโดยจัดเตรียมไว้ (programmatic) โดยใช้โปรแกรมแต่ละอันที่แตกต่างกัน และเน้นความแตกต่างของลักษณะซึ่งใช้ความหลากหลายของเครื่องดนตรีในแต่ละองค์ อย่างเช่นในองค์ที่ 2 “Vltata” ที่มีสีสันมากที่สุดซึ่งใช้ฮาร์ปและวูดวินรวมเข้าด้วยกันกับรูปแม่น้ำที่เป็นภาพกราฟฟิค
ในผลงาน Má vlast บทเพลงนี้อยู่ในอัตรจังหวะ 6/8 ในบันไดเสียง E Minor ได้พัฒนาเสียงประสาน Polyphony ที่ไมปรากฏในผลงานที่เกี่ยวกับอุปรากร ลักษณะของ counterpoint (2 และ 3) ซึ่งการบรรยายถึงแม่น้ำจะใช้การไล่เสียงตัวโน้ตขึ้นและลง สลับกับการไล่บันไดสียง โดยยังมีเสียงทำนองหลัก แต่เพื่อความไม่จำเจเขาก็สัลบกับทำนองใหม่ๆ โดยจังหวะของเขามีความผิดปกติไปจากการประพันธ์ผลงานในช่วงแรก โดยมีรูปแบบของจังหวะที่หลากหลาย รวมไปถึงเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปิคโคโล่, ฟลุ๊ต 2 ,โอโบ 2 , คลาริเนท 2 , บาซซูน 2 , ฮอร์น 4 ,ทรัมเปต 2, ทรอมโบน 3,ทูบรา, ฮาร์พ, เพอร์คัดชั่น และเครื่องสาย
Smetana จึงจัดว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการประพันธ์ดนตรีเป็นอย่างมากนำทำนองเพลงพื้นบ้านของโบฮีเมียมา สร้างเสียงประสานที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งผลงานการประพันธ์ของมีลักษณะเป็นชาตินิยม (nationalism), ตระหนักถึงความเป็นจริง (realism) และ โรแมนติค (romanticism) ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของ Smetana เองสะท้อนให้เห็นถึงสภาพผู้คน บ้านเมือง สังคมรวมไปถึงวัฒนธรรม ซึ่งผลงานของเขาได้รับอิทธิพลมาจาก Liszt, Wagner และ Berlioz
Monday, March 1, 2010
Chaconne
ลักษณะของแนวเบสในรูปแบบ chaconne จะมีการเดินลงเป็นขั้นจากตัวโทนิค (tonic) ไปหาตัวดอมิเนนท์ (dominant) ในระดับเสียงที่ยังคงอยู่ในบันไดเสียง (scale) โดยที่เสียงประสานในส่วนที่สูงจะเน้นการใช้ circle of fifth หรือรูปแบบที่แยกออกมา
Chaconne ถือ กำเนิดในประเทศสเปนช่วงปลายศตวรรษที่ 16 โดยเป็นเพลงเต้นรำของพวกทาสและชนชั้นไพร่ มีจังหวะกระฉับกระเฉง และมีเนื้อเพลงยั่วล้อเลียน บรรเลงดนตรีประกอบด้วยกีต้าร์ หรือแทมโบรีน ได้รับความนิยมอย่างมาก ต่อมาได้เผยแพร่ไปยังอิตาลี และมีรูปแบบ chord progression ที่นิยมใช้คือ I–V–vi–V ในจังหวะ ¾ (ซึ่งเริ่มใช้เมื่อในต้นศตวรรษที่ 18) บทเพลงที่ได้รับความนิยม คือ จากท่อนสุดท้ายในเพลง Violin Partita in D minor ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach
Chaconne มีความใกล้เคียงกับการประพันธ์เพลง Passacaglia ซึ่งมีจังหวะช้ากว่าเล็กน้อย ซึ่งGirolamo Frescobaldi นักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนผู้มีชื่อเสียงในยุคปลายเรเนอซองต์ และต้นบาโรค ได้เคยประพันธ์เพลงเชิงเปรียบเทียบระหว่าง Chaconne และ Passacaglia โดยให้ Chaconne เป็นโน้ตแบบ triple beat 2 กลุ่มใน 1 ห้องซึ่งมีจังหวะการขับเคลื่อนของทำนองที่เร็วกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Passcaglia ที่เป็น triple beat 4 กลุ่มใน 1 ห้อง และข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือ Passacaglia จะเป็น ground bass ชุดเดิมเล่นรองรับกับ variation ส่วน Chaconne จะเป็นคอร์ดที่รองรับ variation
ช่วงหลังปี 1740 Chaconne ได้รับความนิยมกว่า Passacaglia มันถูกนำไปแต่งเพลงสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และ chamber music อีกด้วย หลังจากยุคบาโรคมาพบลักษณะการรูปแบบอย่าง chaconne ในงาน 32 Variations in C minor ประพันธ์โดย Beethoven รวมไปถึงของ Gluck และ Mozart ที่มีการประยุกต์ใช้บ้าง รวมถึงดนตรีในศตวรรษที่19 ที่มีการใช้ Chaconne และ Passacaglia ในเพลงแต่ไม่ได้ระบุเป็นทางการนัก แต่จะถูกเรียกเป็น oscinato variations
Alessandro Scarlatti

Alessandro Scarlatti เกิดเมื่อวันที่ 2 May 1660 และสิ้นชีวิตเมื่อ 24 October 1725 เป็นนักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน อยู่ในช่วงระหว่างยุคบาโรค (1600-1750) ที่มีชื่อเสียงมาจากการประพันธ์โอเปร่า (opera) รวมไปถึง cantata และถือว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งโอเปร่าของสำนัก Neapolitan และเป็นบิดาของนักประพันธ์ที่ชื่อว่า Domenico Scarlatti (1685 - 1757) และ Pietro Filippo Scarlatti (1679 –1750)
Alessandro Scarlatti เกิดที่เมือง Palermo เมื่อครั้งยังเด็กเขาได้ศึกษากับ Giacomo Carissimi ที่กรุงโรม (Rome) ซึ่งผลงานชิ้นที่สำคัญในระหว่างที่อยู่กรุงโรมคือโอเปร่าเรื่อง Gli Equivoci nell sembiante (1679) ทำให้เขาได้รับตำแหน่งเป็น Maestro di Cappella ของราชินี Christina ของสวีเดน (ได้อาศัยอยู่ที่กรุงโรมระหว่างนั้น) และเรื่องที่สอง L’honesta negli amori ในปีถัดมา ประกอบไปด้วยบทร้องที่มีชื่อเสียง Già il sole dal Gange, Il Pompeo, O cessate di piagarmi และ Toglietemi la vita ancor เป็นต้น บทร้องเหล่านี้มีท่วงทำนองของ Recitative และบทร้องที่อ่อนหวาน ที่มีเครื่องสายเล่นประกอบหรือร้องกับ Continuo และการผูกโครงเรื่องอย่างประณีต
และต่อมาก็ที่เมือง Naples บางทีเขาเองอาจจะได้รับอิทธิพลจากพี่สาวของเขาที่เป็นนักร้องโอเปร่า จึงทำให้เขาเองประพันธ์โอเปร่าได้อย่างไพเราะ
ในปี ค.ศ. 1702 Scarlatti ได้ย้ายออกจากเมือง Naples และหลังจากในปี 1707 ที่เมือง Venice และ Urbino ก็ได้กลับมาทำงงานที่ Naples เหมือนเดิม และในระยะเวลาต่อมาก็ได้ทำอุปรากรเรื่องTelemaco (1718), Marco Attilio Regolò (1719) และ La Griselda (1721) ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
เขาได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง "Italian overture" ในปี ค.ศ.1686 ที่แสดงถึงแนวคิดในการละทิ้งเบส
(ground bass)และ บทร้องแบบ 4 ทำนองไปเป็น 2 ทำนอง หรือแบบ da capo โอเปร่าที่ดีสุดของเขาในยุคนี้คือ La Rosaura (1690) และ Pirro e Demetrio (1694) มีบทร้อง Aria ที่สำคัญคือ Le Violette และ Ben ti sta, traditor เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เขาย้ายมาอยู่ Naples ในขณะนั้นเป็นเมืองศูนย์กลางของอุปรากรและเป็นเมืองแห่งดนตรี เขาได้ประพันธ์ผลงานที่นอกเหนือจากอุปรากร เช่น Catata, Oratorio, Serenata และอื่นๆอีก ผลงาน Il Pirro e Demetrio นั้นได้ออกแสดงในเมืองต่างๆหลายคร้ัง ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก และ อุปรากรเรื่องสุดท้ายของเขาคือ La Griselda
ในปี 1697 ผลงานการประพันธ์ในบางส่วนคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก Giovanni Bononcini (1670-1747 นักเชลโล่และนักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนในยุคบาโรก) และโอเปร่าของเขาก็มีรูปแบบของจังหวะเรียบง่ายมากขึ้น แต่ตรงกันข้ามกับตัวโน้ตที่ไม่ชัดเจน เครื่องโอโบและทรัมเปตถูกทำนาใช้บ่อยมากขึ้น พร้อมทั้งเล่นแนวเดียวกันกับไวโอลิน
ผลงานการประพันธ์โอปร่าชุดสุดท้ายของเขาได้แสดงออกถึงความรู้สึกที่ชัดเจนมากขึ้น ตัวโน้ตชัดเจนมาก รวมไปถึงจังหวะที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก โดยการใช้เพลงคั่นเข้ามาประกอบ อันเป็นเทคนิคที่เขานำมาใช้เป็นคนแรก และการใช้ Horn ในวง Orchestra เพื่อเพิ่ม effect และผลงานการประพันธ์ chamber-cantatas สำหรับร้องเดี่ยวกว่า 500ชิ้น และบทเพลง mass อีกกว่า 200 ชิ้น ผลงานเอกอย่าง St Cecilia Mass (1721) ของท่านยังส่งอิทธิพลต่อ Mass ของ Bach และ Beethoven อีกด้วย
สิ่งสำคัญที่ Alessandro Scarlatti ได้พัฒนาและส่งอิทธิพลต่อคือ การละทิ้งพื้นเบส (ground bass), Da Capo Aria ซึ่งมีโครงสร้างแบบ ABA และ Italian Overture มี 3 ท่อนคือ เร็ว-ช้า-เร็ว เป็นรูปแบบบทประพันธ์ที่สำคัญของเพลงบรรเลง