
Guido of Arezzo, Guido Aretinus, Guido da Arezzo, Guido Monaco หรือ Guido D'Arezzo เป็นนักชวชชาวอิตาเลียนนิกายเบเนดิกต์เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส เกิดปี ค.ศ.991/992 และถึงแก่กรรมหลังปี ค.ศ.1033 ในระหว่างนั้นในปี ค.ศ.1025 เขาได้เดินทางไปยังเมือง Arezzo ประเทศอิตาลีซึ่งเป็นที่ที่เขาไปทำงานให้กับบาทหลวง Theobald และอาศัยที่เมืองนี้ไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่ก่อนจะย้ายมาที่นี่เขาได้ตระหนักว่านักร้องมีความสามารถร้อง Gregorian chants ได้ยาก (เป็นเพลงใช้ในพิธีทางศาสนา ซึ่งมีระดับเสียงเดียวไม่มีการประสาน) เขาจึงคิดค้นวิธีการสอนแบบใหม่ขึ้นมา แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้กับบาทหลวงบางท่านเขาจึงย้ายออก และได้เข้าสู่เมือง Arezzo
เขาได้สร้างและพัฒนารูปแบบสัญลักษณ์ของดนตรีขึ้นมาใหม่แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) โดยที่ระบบใหม่เป็นการแทนที่ตัวอักษณด้วยตัวโน้ตและเขียนบนเส้นขนานกัน 4 เส้น และเพิ่มเส้นสีแดงและเส้นสีเหลืองลงบนสองเส้นที่ถูกใช้แต่เดิม นอกจากนี้เขายังคิดริเริ่มระบบ solmization (solfegge) หรือเป็นเสียง ut, re, mi, fa, sol และ la สำหรับเสียง C, D, E, F, G and A ของ hexachord และต่อมา hexachord ก็ถูกแทนที่ด้วย Scale 1 octave โดยเพิ่มเสียง si หรือ ti และ do ใช้แทนที่ ut เนื่องจากเขาพบว่านักร้องสามารถที่จะร้องดนตรีในโบสถ์ได้ยาก เขาได้สอนนักร้องเหล่านี้จึงทำให้เกิดวิธีการเหล่านี้เกิดขึ้น
เขาได้แทนเสียง ut, re, mi, fa, sol, และ la จากตัวอักษรตัวแรกของ 6 ท่อนแรกในบทกวี hymn ถึงบาทหลวง St. John ที่ว่า
Ut queant laxis,
Resonare fibris,
Mira gestorum,
Famuli tuorum,
Solve polluti,
Labii reatum, Sancte Joannes!
จากบทกวีเริ่มต้นด้วย C ก่อนจะที่สูงขึ้นอีก octave หนึ่งในบทถัดไป นักร้องฝรั่งเศสสามารถที่จะใช้ ut แต่สำหรับประเทศอื่นก็จะใช้ do แทนที่ ด้วยการค้นพบวิธีการนี้จึงทำให้นักร้องสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการร้องและจดจำได้อย่างรวดเร็ว
"Guidonian Hand" ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการสอนนักร้อง ซึ่งแต่ละส่วนของนิ้วจะมีความสัมพันธ์กับโน้ตต่างๆ เขาและผู้ติดตามของเขาสามารถที่จะสอนนักร้องทั้งหลายเกี่ยวกับโน้ตโดยชี้ให้แต่ละส่วนของมือ โดยในปี ค.ศ.1028 เขาได้สาธิตกระบวนการนี้ให้กับ Pope John XIX
ผลงานการเขียนที่สำคัญอีกชิ้นคือ Micrologus de disciplina artis musicae เป็นผลงานทางทฤษฏีที่อธิบายถึงดนตรีต่างๆ ในช่วงชีวิตของเขาซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงที่สำคัญของ organum
ที่มา
http://www.longwood.edu/staff/swansoncl/Sightsinging/GUIDO%20AREZZO.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Guido_of_Arezzo

No comments:
Post a Comment